28 มิ.ย. 2553

การติดตั้ง Atutor

ATutor เป็นระบบ Open Source Web-based Learning Content Management System เรียกชื่อย่อว่า LCMS* ใช้ในการสร้างระบบเรียนรู้แบบออนไลน์ (E-Learning) สามารถแยกผู้ใช้งานเป็นสามส่วนคือส่วนผู้ดูแลระบบ ส่วนอาจารย์ และส่วนนักศึกษา นับเป็นระบบ LCMS ที่ได้รับความนิยมอยู่ในอันดับต้นๆ ส่วนมากทูลตัวนี้ได้รับความนิยมอยู่ในแวดวงการศึกษา
ATutor เป็นซอร์ฟแวร์ที่มีลิขสิทธิ์แบบ GPL (General Public License) หรือลิขสิทธิ์แบบฟรีนั่นเิอง ผู้นำไปใช้สามารถพัฒนาต่อยอดได้

*LCMS = LMS+CMS
LMS (Learning Management System)
CMS (Content Management System)

วิธีการติดตั้งใช้งาน LCMS ตัวนี้ผู้ใช้สามารถติดตั้งได้ 2 วิธีคือ
วิธีที่ 1 ติดตั้งแบบเดี่ยวๆ
วิธีที่ 2 ติดตั้งเป็นโมดูลเสริมในระบบ CMS อาทิ PostNuke, Mambo

ความต้องการด้านซอฟต์แวร์
• Web Server เป็น Apache หรือ IIS
• โปรแกรมภาษา PHP เวอร์ชั่น 4.2.0 ขึ้นไป
• ฐานข้อมูลเป็น MySQL เวอร์ชั่น 3.23.x ขึ้นไป
• โปรแกรม phpMyAdmin


ขั้นตอนการติดตั้ง ATutor
* ก่อนการติดตั้งท่านต้องจำลองเครื่องตัวเองเป็น Web Server ก่อน สามารถเลือก Web Server ตัวใดตัวหนึ่งตามลิ้งด้านล่างนี้
โปรแกรม ลิงค์ดาวน์โหลด
WM Server http://www.cmsthailand.com/web45-47/print.php?sid=80
AppServ http://www.cmsthailand.com/web45-47/print.php?sid=2
WAMP http://www.cmsthailand.com/web45-47/print.php?sid=58



1. ดาวน์โหลดตัวติดตั้งที่ http://www.cmsthailand.com หรือที่ http://www.atutor.ca/atutor/download.php

2. หลังการดาวน์โหลดมาให้ทำการแตกไฟล์ด้วย WinRAR หรือ Winzip

3. ทำการคัดลอกหรืออัปโหลดตัวติดตั้ง (โฟลเดอร์ moodle) ไปใส่ในห้องเก็บเว็บไซต์

ไดเร็กทอรี่ คำอธิบาย
C:\WM\www กรณีใช้ WMServer
C:\AppServ\www กรณีใช้ AppServ
C:\InetPub\wwwroot กรณีใช้ IIS
/var/www/html กรณีใช้ระบบ Linux เก็บที่พาทหลัก
/home/username/public_html กรณีใช้ระบบ Linux เก็บที่พาทของผู้ใช้ (โดยที่ไปบนโฮสต์ติ้งจะใช้พาทนี้)

* ในที่นี้ทดสอบบนเครื่องตัวเองใช้ WMServer

รูปแสดงโฟลเดอร์ห้องเก็บตัวติดตั้ง

4. ทำการสร้างฐานข้อมูลสำหรับเก็บโปรแกรม ATutor ในที่นี้สร้างโดยใช้โปรแกรม phpMyAdmin (โดยทั่วไปบนเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือบนโฮสต์ติ้งเขามีบริการอยู่แล้ว)

สร้างฐานข้อมูลที่ต้องการเก็บ moodle ในที่นี้สร้างฐานข้อมูลชื่อว่า atutor

Note.
กรณีใช้บน Web Hosting จริงสามารถใช้ฐานข้อมูลที่ทางโฮสต์ติ้งให้มาหรือทำการสร้างใหม่ผ่านทาง Control Panel ที่ทาง hosting ให้บริการ

5. หลังการสร้างฐานข้อมูลเสร็จแล้วก็เริ่มติดตั้งโดยการพิมพ์ URL ดังนี้
URL คำอธิบาย
http://127.0.0.1/atutor/install/ กรณีติดตั้งบนเครื่องตัวเอง
http://www.sitename.com/atutor/install/ กรณีสร้างเป็นไดเร็กทอรี่ย่อยลึกลงไปอีกชั้น
http://www.sitename.com/install/ กรณีสร้างเป็นพาทหลักเว็บไซต์
http://lms.sitename.com/install/ กรณีสร้างเป็น sub domain ชื่อว่า lms

์Note.
ห้องสำหรับเป็นตัวติดตั้งสามารถตั้งเป็นชื่ออื่นได้ในที่นี้ทดสอบตั้งชื่อว่า atutor

6. คลิกที่ปุ่ม Install กรณีติดตั้งเป็นครั้งแรก

7. โปรแกรมรายงานลิขสิทธิ์โปรแกรม ของ ATutor เป็นชนิด GNU General Public License (GPL)

8. คลิกปุ่ม I Agree

9. ระบุรายละเอียดฐานข้อมูล MySQL
Database Hostname: ระบุชื่อโฮสต์เนมที่เก็บฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล กรณีทดสอบบนเครื่องตัวเองให้ใส่เป็น localhost
Database Port: พฮร์ตที่ใช้เชื่อต่อปกติเป็น 3306
Database Username: ชื่อผู้ใช้ กรณีทดสอบบนเครื่องให้ใช้เป็น root
Ttabase Password: รหัสผ่าน กรณีทดสอบบนเครื่องตนเองให้ปล่อยว่างไว้
Database Name: ชื่อฐานข้อมูล ในที่นี้ชื่อว่า atutor (ได้สร้างไว้ในข้อ 4)
Table Prefix: ให้ใช้ค่าเก่าเป็น AT_

10. หลังจากระบุเสร็จให้คลิกปุ่ม Next

11. ระบบรายงานกรสร้างตารางข้อมูลงฐานข้อมูล atutor

12. คลิกปุ่ม Next

13. ระบบรายละเอียดผู้ควบคุมเว็บ และรายละเอียดเพิ่มเติม

14. คลิกปุ่ม Next

15. ระบุรายละเอียดผู้ใช้(ชื่ออาจารย์ : Instructor) คนแรก

16. คลิกปุ่ม Next

17. โปรแกรมแสดงพาทในการเก็บเนื้อหาต่างๆ ชื่อว่า content

ให้ไปสร้างไดเร็กทอรี่ชื่อว่า content

สร้างไดเร็กทอรีชื่อว่า content ไว้สำหรับเก็บหลักสูตรต่างๆ

* หลังการสร้างโฟลเดอร์แล้ว กรณีใช้บนโฮสต์ติ้งจริงต้องเปลี่ยนโหมด (chmod) เป็น 777 ให้สามารถอ่านและเขียนข้อมูลเข้าไปได้
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.cmsthailand.com/web45-47/print.php?sid=99

18. ระบบเขียนคอนฟิกเข้าไปในไฟล์ ../include/config.inc.php

19. คลิกปุ่ม Next

20. ระบบรายงานข้อมูลระบบที่ใช้ติดตั้ง ATutor

21. ให้คลิกปุ่ม Next

22. ระบบรายงานว่าการติดตั้งเรียบร้อยแล้ว

23. คลิกปุ่ม Login เพื่อเข้าระบบ

24. ระบบแสดงเว็บหน้าแรกให้ล็อกอินเข้าระบบ
โดยเราสามารถล็อกอินเข้าระบบโดยชื่อผู้ใช้สองคนคือ ชื่อผู้ดูแลระบบ และชื่ออาจารย์ ที่เราระบุก่อนหน้านี้

กรณีล็อกอินเป็น Admin
กรณีล็อกอินเป็น Instructor

* สามารถอ่านคู่มือการติดตั้งเพิ่มเติมได้ในห้อง docs หรือที่ URL : http://www.atutor.ca/atutor/docs/

สรุป
ATutor เป็นเครื่องมือที่นิยมนำมาทำระบบ E-Learning สำหรับใช้งานในโรงเรียน สถาบันการศึกษา บริษัทเอกชน สำหรับในไทยเราเอง ATutor เป็นทูลที่ได้รับความนิยมเพียงระดับหนึ่งเท่านั้น ปัจจุบัน ATutor ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ มากมายรวมทั้งภาษาไทย สามารถดูภาษาที่ ATutor รองรับอยู่ในปัจจุบัน (27/03/48) ที่ http://www.atutor.ca/atutor/translate/ สำหรับ ในที่นี้ผู้เขียนได้อธิบายเฉพาะการติดตั้ง ATotor แบบเดี่ยวๆ เท่านั้น
ปัจจุบันนี้ ATutor สามารถติดตั้งเป็นโมดูลเสริมในระบบ CMS ยอดนิยมอย่าง PostNuke, Mambo สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บท่าของ ATutor คือ ATutor.ca
ตอนนี้ยังไม่มีรูปนะครับ เดี๋ยวไว้อัพรูปเพิ่มให้วันหลังแล้วกันนะครับ

24 มิ.ย. 2553

รัก ณ สยาม



ถ้าบอกเพลงนี้ แต่งให้เธอ เธอจะเชื่อไหม
อุตส่าห์โฟนอิน มาอย่างนี้เลย เชื่อหน่อยได้มั้ย
กับเรื่องราวการแบ่งสี มีหลากสี แทบจำไม่ได้…
แต่กับเธอ ประเทศนี้ รู้มั้ยฉันเลือกสีอะไร

มีคนชวนเราปรองดอง กันทุกวัน
ให้ นปช. กับ ศอฉ. มารักกัน
ไม่ต้องเรียนใครก็รู้ว่าจริงๆไม่ง่ายอย่างนั้น
สามัคคีมัน หายาก พอๆกับกี้ อริสมันต์

ให้มันเป็นเพลงผ่านความลำเค็ญ และกลายมาเป็นดั่งภูมิคุ้มกัน
ยังอยู่ด้วยกันอีกยาวๆ โว้ว โฮ
ว่ากันตรงๆ ไม่มาดูดี ว่าตราบใดที่มีแดงย่อมมีเหลือง
หากจะเคือง ก็ขอให้ทนเอาไว้ อย่าไปเผายาง

มีความทนอยู่ในคนไทยตั้งมากมาย
และที่ผ่านมา จะซวยแค่ไหน ไม่นานก็หาย
ไม่ต้องบอก เขาก็รู้ ว่าคนไทยนั้นโคตรลืมง่าย….จะเจอสีไหนก็ยังทน
แค่อยากจะบอกให้เธอรู้ ว่ากูคือสีทนได้

ให้มันเป็นเพลง บนความลำเค็ญ และกลายมาเป็นดั่งภูมิคุ้มกัน
ยังอยู่ด้วยกันอีกยาวๆ โว้ว โฮ
ดั่งท่านนายกบอกในทีวี ว่าตราบใดที่มีมาร์คย่อมมีหวัง แม้บางครั้งเรตติ้งตกไป เพราะเสธไก่อู
มีแกนนำมากมายบนเตียงและก็มีเพียงเสียงเพลงปลอบขวัญ
มีแกนนำอยู่ครบทุกเตียงขาดแต่เตียงอริสมันต์

เครดิตคนถ่าย คุณ natee นะครับ
ที่มา http://www.udomteam.com

21 มิ.ย. 2553

เพลง ครำ ^_^ ศิลปิน วงบอดี้สลิ่ม

หมายเหตุ* หมั่นไส้พวกใช้ภาษาวิบัติจนเกินเหตุ หอก...เพี้ยนทุกคำ จะเพี้ยนอะไรขอความพอดีหน่อยเถอะ สงสารสายตาคนอ่านบ้าง แต่งเพลงให้ซะเลย
เพลง ครำ ^_^ ศิลปิน วงบอดี้สลิ่ม
(ทำนองเพลง คราม วงบอดี้แสลม)
ยิ่งเจอเท่าไหร่ก็ยิ่งมืดมน ยิ่งอ่านเท่าไรก็ยิ่งสับสน
นี่มันภาษาคน หรือภาษาลิง
อนาคตชาติไทยใครเล่าจะไปรู้ว่า มีการศึกษา ภาษาที่ใช้จะวอดวาย
มีแต่พวกมันเข้าใจ พิมพ์เอาสะใจ บ่งบอกรอยหยักภายใน ที่ซ่อนอยู่
อุ๊ยนั่นอีโมมันก็มี คำดีๆ ต้องเพี้ยนเป็นไม้ตรี คำนึงเว้นวรรคไปหนึ่งที
ปวดตับกับสิ่งที่เห็น ต้องไปรีบหยด น้ำหมักป้าล้างตา
*เพี้ยนกันเข้าไปไม่มีสิ้นสุด เหมือนเป็นภาษามะนาวต่างดุ๊ด เพื่อไรก็ไม่รู้
*นิดหน่อยพอเข้าใจ ทุกคำ นี่มันไม่เกินไปรึไง
เขาบอกไม่รู้สิทธิของฉัน เห็นคนอื่นพิมพ์ฉัน ก็พิมพ์ตาม
หากมันหนักหัวใคร ไม่ไหว เพี้ยนจนยากเกินหยั่งถึง
แนะนำให้ไปผูกคอตาย แค่นี้ไม่เข้าใจศัพท์ไทย วัยรุ่นอย่างฉัน
มันครีเอทจะตาย ไม่งมงาย เข้าใจไหมอารมณ์ ที่สื่อไป มันคือความจริงที่เก็บไว้
อยู่ในไส้วัยรุ่นไทยทุกคน ไม่รู้ใช่ไหม....โว้ โอ โอ
คาวาอิ๊ในแบบฉัน พวกเรานั้นค้นเจอ เพี้ยนเปลี่ยนไป
นิดหน่อยแค่นั้น ถ้าไม่ชอบ ก็ปิดไปสิเธอว์ ไม่ต้องสนจัย โอ๊ะ โอ โอ่
*น่ารักกันไปไม่มีสิ้นสุด ไม่สนครัยด่าไอ้วอระนุ๊ด ไม่สนและไม่รู้ ฮูววว
*นิดหน่อยพอเข้าใจ ทุกคำ นี่มันไม่เกินไปรึไง
เขาบอกไม่รู้สิทธิของฉัน เห็นคนอื่นพิมพ์ฉัน ก็พิมพ์ตาม
หากมันหนักหัวใคร ไม่ไหว เพี้ยนจนยากเกินหยั่งถึง
แนะนำให้ไปผูกคอตาย แค่นี้ไม่เข้าใจศัพท์ไทย วัยรุ่นอย่างฉัน
ความลับยุคไอที ไหงเป็นงี้ไม่เข้าใจ มีหมอง ไว้สวมกางเกงใน
ด่าแรงมาก็ทำบ่น น่าตบด้วยเท้าซ้าย
พิมพ์เข้าไป ให้ผิดเพี้ยนกันเข้าไป ภาษา มันดิ้นไป ใครกันที่จะมองผ่าน
ความลับยุคไอที ไหงเป็นงี้ไม่เข้าใจ มีหมอง ไว้สวมกางเกงใน
ด่าแรงมาก็ทำบ่น น่าตบด้วยเท้าซ้าย
พิมพ์เข้าไป ให้ผิดเพี้ยนกันเข้าไป ภาษา มันดิ้นไป
ใครกันล่ะที่จะมองผ่าน อย่าให้เจอ จะตบด้วยเท้าซ้าย
*ร้องซ้ำกี่รอบก็ได้


เปิดเพลงแล้วร้องตามเนื้อจะได้อารมณ์มากขึ้น



Credit = Knightnum.exteen.com

CMS คือ ?

CMS คืออะไร


CMS ย่อมาจาก Content Management System เป็นระบบที่นำมาช่วยในการสร้างและบริหารเว็บไซต์แบบสำเร็จรูป โดยในการใช้งาน CMS นั้นผู้ใช้งานแทบไม่ต้องมีความรู้ในด้านการเขียนโปรแกรม ก็สามารถสร้างเว็บไซต์ได้ ตัวของ CMS เองจะมีโปรแกรมแถมมาและสามารถแทรกเองได้มากมายเช่น webboard , ระบบจัดการป้ายโฆษณา , ระบบนับจำนวนผู้ชม แม้แต่กระทั่งตระกร้าสินค้า และอื่นๆอีกมากมาย

CMS เป็นเหมือนโปรแกรม โปรแกรมหนึ่ง ที่มีผู้พัฒนามาจากภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในเว็บไซต์เช่น PHP , Python , ASP , JSP ซึ่งในปัจจุบันมีคนใจดีพัฒนา CMS ฟรีขึ้นมามากมายอย่างเช่น Mambo , Joomla , Wordpress

แน่นอนว่าผู้พัฒนาระบบ CMS ฟรี ที่กล่าวมาข้างต้นนั้นล้วนเป็นมืออาชีพที่มีฝีมือในเรื่องของ เว็บไซต์เป็นอย่างยิ่ง ทั้งการเขียนโปรแกรมที่รัดกุม การออกแบบเนวิเกชั่นที่ดี ทำให้ภาพรวมของเว็บไซต์ที่ใช้ CMS นั้นออกมาในแนวมืออาชีพอย่างมาก

ข้อดีของ CMS
1.ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการทำเว็บไซต์ เพียงแค่เคยพิมพ์ หรือเคยโพสข้อความในอินเทอร์เนต ก็สามารถมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองได้
2.ไม่เสียเวลาในการพัฒนาเว็บไซต์ ไม่เสียเงินจำนวนมาก
3.ง่ายต่อการดูแล เพราะมีระบบจัดการทุกอย่างให้เราหมด
4.มีระบบจัดการที่เราสามารถหามาใส่เพิ่มได้มากมาย อย่างเช่น ระบบแกลลอรี่
5.สามารถเปลี่ยนหน้าตาเว็บไซต์ได้ง่ายๆ เพียงแค่โหลดทีม (Theme) ของ CMS นั้นๆ

ข้อเสียของ CMS
1.ในกรณีที่ผู้ใช้ต้องการออกแบบทีม (หน้าตาของเว็บ) เอง จะต้องใช้ความรู้มากกว่าปรกติ เนื้องจาก CMS มีหลายๆระบบมารวมกันทำให้เกิดความยุ่งยาก สำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้
2.ผู้ใช้จะต้องศึกษาระบบ CMS ที่ผู้พัฒนาสร้างขึ้นมา เช่นจะต้องใส่ข้อความลงตรงไหน จะต้องแทรกภาพอย่างไร ซึ่งจะลำบากเพียงแค่ช่วงแรกเท่านั้น
3.ในการใช้งานจริงนั้นจะมีความยุ่งยากในการ set up ครั้งแรกกับ web server แต่ปัจจุบันก็มีผู้บริการ web server มากมายที่เสนอลงและ set up ระบบ CMS ให้ฟรีๆโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
เมื่อรวมๆข้อดีและข้อเสียดูแล้ว ก็ยังเห็นได้ว่า CMS นั้นก็เป็นระบบที่น่าใช้งานอยู่ดี

แนะนำ CMS
- Mambo CMS ตัวนี้มีผู้ใช้งานมากมายทั้งในหน่วยงานของรัฐ และผู้คนทั่วไป ทำให้มีคนให้เราสามารถปรึกษาได้มาก รวมถึงตัวระบบเองก็ใช้งานได้ง่าย และมีผู้พัฒนาอยู่ตลอดเวลา มีเว็บไซต์ภาษาไทยรองรับสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาและใช้งาน เช่น http://www.mambohub.com/

14 มิ.ย. 2553

KM (Knowledge Management)การจัดการความรู้

การจัดการความรู้ หรือที่เรียกย่อๆ ว่า KM คือ เครื่องมือ เพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 3 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ บรรลุเป้าหมายของงาน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

ดังนั้นการจัดการความรู้จึงไม่ใช่เป้าหมายในตัวของมันเอง เมื่อไรก็ตามที่มีการเข้าใจผิด เอาการจัดการความรู้เป็นเป้าหมาย ความผิดพลาดก็เริ่มเดินเข้ามา อันตรายที่จะเกิดตามมาคือ การจัดการความรู้เทียม หรือ ปลอม เป็นการดำเนินการเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่ามีการจัดการความรู้เท่านั้นเอง



แรงจูงใจในการริเริ่มการจัดการความรู้
แรงจูงใจแท้ต่อการดำเนินการจัดการความรู้ คือ เป้าหมายที่งาน คน และองค์กร เป็นเงื่อนไขสำคัญ ในระดับที่เป็นหัวใจสู่ความสำเร็จในการจัดการความรู้

แรงจูงใจเทียมต่อการดำเนินการจัดการความรู้ในสังคมไทย มีมากมายหลายแบบ เป็นต้นเหตุที่นำไปสู่การทำการจัดการความรู้แบบเทียม และนำไปสู่ความล้มเหลวในที่สุด เช่น ทำเพราะถูกบังคับตามข้อกำหนด กล่าวคือ ทำเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่าทำ หรือทำเพื่อชื่อเสียง ทำให้ภาพลักษณ์ขององค์กรดูดี หรือมาจากความต้องการผลงานของหน่วยย่อยภายในองค์กร เช่น หน่วยพัฒนาบุคลากร (HRD) หน่วยสื่อสารและสารสนเทศ (ICT) หรือหน่วยพัฒนาองค์กร (OD) ต้องการใช้การจัดการความรู้ในการสร้างความเด่น หรือสร้างผลงานของตน หรืออาจมาจากคนเพียงไม่กี่คน ที่ชอบของเล่นใหม่ๆ ชอบกิจกรรมที่ดูทันสมัย เป็นแฟชั่น แต่ไม่เข้าใจความหมายและวิธีการดำเนินการจัดการความรู้อย่างแท้จริง
ประเภทความรู้ ความรู้อาจแบ่งใหญ่ๆ ได้ ๒ ประเภท คือ
1.ความรู้เด่นชัด (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่อยู่ในรูปแบบที่เป็นเอกสาร หรือ วิชาการ อยู่ในตำรา คู่มือปฏิบัติงาน
2.ความรู้ซ่อนเร้น/ความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่แฝงอยู่ในตัวคน เป็นประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนาน เป็นภูมิปัญญา
โดยที่ความรู้ทั้ง ๒ ประเภทนี้มีวิธีการจัดการที่แตกต่างกัน
การจัดการ “ความรู้เด่นชัด” จะเน้นไปที่การเข้าถึงแหล่งความรู้ ตรวจสอบ และตีความได้ เมื่อนำไปใช้แล้วเกิดความรู้ใหม่ ก็นำมาสรุปไว้ เพื่อใช้อ้างอิง หรือให้ผู้อื่นเข้าถึงได้ต่อไป (ดูวงจรทางซ้ายในรูป) ส่วนการจัดการ “ความรู้ซ่อนเร้น” นั้นจะเน้นไปที่การจัดเวทีเพื่อให้มีการแบ่งปันความรู้ที่อยู่ในตัวผู้ปฏิบัติ ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน อันนำไปสู่การสร้างความรู้ใหม่ ที่แต่ละคนสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้ต่อไป (ดูวงจรทางขวาในรูป)


ในชีวิตจริง ความรู้ ๒ ประเภทนี้จะเปลี่ยนสถานภาพ สลับปรับเปลี่ยนไปตลอดเวลา บางครั้ง Tacit ก็ออกมาเป็น Explicit และบางครั้ง Explicit ก็เปลี่ยนไปเป็น Tacit
โมเดลปลาทู



“โมเดลปลาทู” เป็นโมเดลอย่างง่าย ที่เปรียบการจัดการความรู้ เหมือนกับปลาทูหนึ่งตัวที่มี ๓ ส่วน คือ

1.ส่วน “หัวปลา” (Knowledge Vision- KV) หมายถึง ส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้ โดยก่อนที่จะทำจัดการความรู้ ต้องตอบให้ได้ว่า “เราจะทำ KM ไปเพื่ออะไร ?” โดย “หัวปลา” นี้จะต้องเป็นของ “คณกิจ” หรือ ผู้ดำเนินกิจกรรม KM ทั้งหมด โดยมี “คุณเอื้อ” และ “คุณอำนวย” คอยช่วยเหลือ
2.ส่วน “ตัวปลา” (Knowledge Sharing-KS) เป็นส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ซึ่ง “คุณอำนวย” จะมีบทบาทมากในการช่วยกระตุ้นให้ “คุณกิจ” มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้นที่มีอยู่ในตัว “คุณกิจ” พร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีม ให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ ยกระดับความรู้ และเกิดนวัตกรรม
3.ส่วน “หางปลา” (Knowledge Assets-KA) เป็นส่วนของ “คลังความรู้” หรือ “ขุมความรู้” ที่ได้จากการเก็บสะสม “เกร็ดความรู้” ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ตัวปลา” ซึ่งเราอาจเก็บส่วนของ “หางปลา” นี้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น ICT ซึ่งเป็นการสกัดความรู้ที่ซ่อนเร้นให้เป็นความรู้ที่เด่นชัด นำไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนหมุนเวียนใช้ พร้อมยกระดับต่อไป

CMS

CMS คืออะไร ความหมายของ Content Management System (CMS)
ระบบการจัดการเนื้อหาของเว็บไซต์(Content Management System : CMS) คือ ระบบที่พัฒนา คิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยลดทรัพยากรในการพัฒนา(Development) และบริหาร(Management)เว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกำลังคน ระยะเวลา และเงินทอง ที่ใช้ในการสร้างและควบคุมดูแลไซต์

โดยส่วนใหญ่แล้ว มักจะนำเอา ภาษาสคริปต์(Script languages) ต่างๆมาใช้ เพื่อให้วิธีการทำงานเป็นแบบอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็น PHP, Perl, ASP, Python หรือภาษาอื่นๆ(แล้วแต่ความถนัดของผู้พัฒนา) ซึ่งมักต้องใช้ควบคู่กันกับโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์(เช่น Apache) และดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์(เช่น MySQL)

ลักษณะเด่นของ CMS ก็คือ มีส่วนของ Administration panel(เมนูผู้ควบคุมระบบ) ที่ใช้ในการบริหารจัดการส่วนการทำงานต่างๆในเว็บไซต์ ทำให้สามารถบริหารจัดการเนื้อหาได้อย่างรวดเร็ว และเน้นที่การ จัดการระบบผ่านเว็บ(Web interface) ในลักษณะรูปแบบของ ระบบเว็บท่า(Portal Systems) โดยตัวอย่างของฟังก์ชันการทำงาน ได้แก่ การนำเสนอบทความ(Articles), เว็บไดเรคทอรี(Web directory), เผยแพร่ข่าวสารต่างๆ(News), หัวข้อข่าว(Headline), รายงานสภาพดินฟ้าอากาศ(Weather), ข้อมูลข่าวสารที่น่าสนใจ(Informations), ถาม/ตอบปัญหา(FAQs), ห้องสนทนา(Chat), กระดานข่าว(Forums), การจัดการไฟล์ในส่วนดาวน์โหลด(Downloads), แบบสอบถาม(Polls), ข้อมูลสถิติต่างๆ(Statistics) และส่วนอื่นๆอีกมากมาย ที่สามารถเพิ่มเติม ดัดแปลง แก้ไขแล้วประยุกต์นำมาใช้งานให้เหมาะสมตามแต่รูปแบบและประเภทของเว็บไซต์นั้นๆ

ตัวอย่างของเว็บที่สร้างจาก CMS
· Slashdot=>พัฒนาด้วย Perl
· Zope=>พัฒนาด้วย Python
· PHP-Nuke =>พัฒนาด้วย PHP
· Joomla =>พัฒนาด้วย PHP **** ได้รับความนิยมมากในปัจุบัน
การประยุกต์ใช้ CMS
ระบบ CMS สามารถนำมาประยุกต์ในงานต่างๆ หลากหลาย ตัวอย่างการนำซอฟต์แวร์ CMS มา
ประยุกต์ใช้งาน อาทิเช่น
>> การนำ CMS มาใช้ในการสร้างเว็บไซต์สถาบันการศึกษา ธุรกิจบันเทิง หนังสือพิมพ์ การเงิน การ
ธนาคาร หุ้นและการลงทุน อสังหาริมทรัพย์ งานบุคคล งานประมูล สถานที่ท่องเที่ยว งานให้บริการลูกค้า
>> การนำ CMS มาใช้ในหน่วยงานของรัฐ อาทิเช่น งานข่าว งานประชาสัมพันธ์ การนำเสนองานต่างๆ
ขององค์กร
>> การใช้ CMS สร้างไซต์ ส่วนตัว ชมรม สมาคม สมาพันธ์ โดยวิธีการแบ่งงานกันทำ เป็นส่วนๆ ทำให้
เกิดความสามัคคี ทำให้มีการทำงานเป็นทีมเวิร์คมากยิ่งขึ้น
>> การนำ CMS มาใช้ในการสร้างเว็บไซต์สำหรับธุรกิจ SME โดยเฉพาะสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
หรือ OTOP กำลังได้รับความนิยมสูง
>> การนำ CMS มาใช้แทนโปรแกรมลิขสิทธิ์ อื่นๆ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย และง่ายต่อการพัฒนา
>> การใช้ CMS ทำเป็น Intranet Web Site สร้างเว็บไซต์ใช้ภายในองค์กร

LMS (Learning Management System)

LMS คืออะไร LMS เป็นคำที่ย่อมาจาก Learning Management System หรือระบบการจัดการเรียนรู้ เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ จะประกอบด้วยเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอน ผู้เรียน ผู้ดูแลระบบ โดยที่ผู้สอนนำเนื้อหาและสื่อการสอนขึ้นเว็บไซต์รายวิชาตามที่ได้ขอให้ระบบ จัดไว้ให้ได้โดยสะดวก ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหา กิจกรรมต่าง ๆ ได้โดยผ่านเว็บ ผู้สอนและผู้เรียนติดต่อ สื่อสารได้ผ่านทางเครื่องมือการสื่อสารที่ระบบจัดไว้ให้ เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ห้องสนทนา กระดานถาม - ตอบ เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วยังมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การเก็บบันทึกข้อมูล กิจกรรมการเรียนของผู้เรียนไว้บนระบบเพื่อผู้สอนสามารถนำไปวิเคราะห์ ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอนในรายวิชานั้นอย่างมีประสิทธิภาพ

องค์ประกอบ LMS

LMS ประกอบด้วย 5 ส่วนดังนี้

1. ระบบจัดการหลักสูตร (Course Management) กลุ่มผู้ใช้งานแบ่งเป็น 3 ระดับคือ ผู้เรียน ผู้สอน และผู้บริหารระบบ โดยสามารถเข้าสู่ระบบจากที่ไหน เวลาใดก็ได้ โดยผ่าน เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ระบบสามารถรองรับจำนวน user และ จำนวนบทเรียนได้ ไม่จำกัด โดยขึ้นอยู่กับ hardware/software ที่ใช้ และระบบสามารถรองรับการใช้งานภาษาไทยอย่างเต็ม รูปแบบ

2. ระบบการสร้างบทเรียน (Content Management) ระบบประกอบด้วยเครื่องมือในการช่วยสร้าง Content ระบบสามารถใช้งานได้ดีทั้งกับบทเรียนในรูป Text - based และบทเรียนใน รูปแบบ Streaming Media

3. ระบบการทดสอบและประเมินผล (Test and Evaluation System) มีระบบคลังข้อสอบ โดยเป็นระบบการสุ่มข้อสอบสามารถจับเวลาการทำข้อสอบและการตรวจข้อสอบอัตโนมัติ พร้อมเฉลย รายงานสถิติ คะแนน และสถิติการเข้าเรียนของนักเรียน

4. ระบบส่งเสริมการเรียน (Course Tools) ประกอบด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้สื่อสารระหว่าง ผู้เรียน - ผู้สอน และ ผู้เรียน - ผู้เรียน ได้แก่ Webboard และ Chatroom โดยสามารถเก็บ History ของข้อมูลเหล่านี้ได้

5. ระบบจัดการข้อมูล (Data Management System) ประกอบด้วยระบบจัดการไฟล์และโฟลเดอร์ ผู้สอนมีเนื้อที่เก็บข้อมูลบทเรียนเป็นของตนเอง โดยได้เนื้อที่ตามที่ Admin กำหนดให้

E-learning

E-Learning คืออะไร

คำว่า e-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม, การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น

ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่มักจะใช้คำว่า e-Learning กับการเรียน การสอน หรือการอบรม ที่ใช้เทคโนโลยีของเว็บ (Web Based Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมถึงเทคโนโลยีระบบการจัดการหลักสูตร (Course Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนด้านต่างๆ โดยผู้เรียนที่เรียนด้วยระบบ e-Learning นี้สามารถศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ หรือ จากแผ่นซีดี-รอม ก็ได้ และที่สำคัญอีกส่วนคือ เนื้อหาต่างๆ ของ e-Learning สามารถนำเสนอโดยอาศัยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia Technology) และเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบ (Interactive Technology)

คำว่า e-Learning นั้นมีคำที่ใช้ได้ใกล้เคียงกันอยู่หลายคำเช่น Distance Learning (การเรียนทางไกล) Computer based training (การฝึกอบรมโดยอาศัยคอมพิวเตอร์ หรือเรียกย่อๆว่า CBT) online learning (การเรียนทางอินเตอร์เนต) เป็นต้น ดังนั้น สรุปได้ว่า ความหมายของ e-Learning คือ รูปแบบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือสื่ออิเลคทรอนิกส์ในการถ่ายทอดเรื่องราว และเนื้อหา โดยสามารถมีสื่อในการนำเสนอบทเรียนได้ตั้งแต่ 1 สื่อขึ้นไป และการเรียนการสอนนั้นสามารถที่จะอยู่ในรูปของการสอนทางเดียว หรือการสอนแบบปฎิสัมพันธ์ได้

ประโยชน์ ของ E-Learning
ยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนเนื้อหา และ สะดวกในการเรียน
การเรียนการสอนผ่านระบบ e-Learning นั้นง่ายต่อการแก้ไขเนื้อหา และกระทำได้ตลอดเวลา เพราะสามารถกระทำได้ตามใจของผู้้สอน เนื่องจากระบบการผลิตจะใช้ คอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหลัก นอกจากนี้ผู้เรียนก็สามารถเรียนโดยไม่จำกัดเวลา และสถานที่
เข้าถึงได้ง่าย
ผู้เรียน และผู้สอนสามารถเข้าถึง e-learning ได้ง่าย โดยมากจะใช้ web browser ของค่ายใดก็ได้ (แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับผู้ผลิตบทเรียน อาจจะแนะนำให้ใช้ web browser แบบใดที่เหมาะกับสื่อการเรียนการสอนนั้นๆ) ผู้เรียนสามารถเรียนจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใดก็ได้ และในปัจจุบันนี้ การเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกระทำได้ง่ายขึ้นมาก และยังมีค่าเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่มีราคาต่ำลงมากว่าแต่ก่อนอีกด้วย
ปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยกระทำได้ง่าย
เนื่องจากผู้สอน หรือผู้สร้างสรรค์งาน e-Learning จะสามารถเข้าถึง server ได้จากที่ใดก็ได้ การแก้ไขข้อมูล และการปรับปรุงข้อมูล จึงทำได้ทันเวลาด้วยความรวดเร็ว
ประหยัดเวลา และค่าเดินทาง
ผู้เรียนสามารถเรียนโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ โดยจำเป็นต้องไปโรงเรียน หรือที่ทำงาน รวมทั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องประจำก็ได้ ซึ่งเป็นการประหยัดเวลามาก การเรียน การสอน หรือการฝึกอบรมด้วยระบบ e-Learning นี้ จะสามารถประหยัดเวลาถึง 50% ของเวลาที่ใช้ครูสอน หรืออบรม
จากประโยชน์ของ e-Learning ดังกล่าวนี้ ทำให้ภาคเอกชนเป็นจำนวนมากหันมานิยมใช้ระบบ e-learning ในการพัฒนาบุคลากรมากขึ้น